ข้อมูลสินค้าถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สุดเพราะเวลาขายโปรแกรม POS จะมาดึงข้อมูลสินค้าออกไปใช้เช่น ชื่อสินค้า หน่วยนับ และที่สำคัญสุดคือราคาขาย ดังนั้นการสร้างข้อมูลสินค้าจึงถือว่าสำคัญสุด เรามาดูขั้นตอนการสรา้งข้อมูลสินค้าเราสามารถที่จะเรียกใช้ในส่วนของเมนูข้อมูลสินค้าได้ 3 รูปแบบ คือ
1. โดยไปที่เมนูตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานและกดที่เมนูย่อยจัดการข้อมูลสินค้า
หรือกดปุ่ม Alt-P (กด Alt แล้วตามด้วยตัวอักษร P)
กดที่ปุ่มที่ใช้งานบ่อย โดยส่วนมากเมนูที่ใช้งานบ่อยจะถูกวางเอาไว้เป็นปุ่มที่ใช้งานบ่อย เราจะเรียกว่าปุ่มบน MenuBar
2.เมื่อเรียกใช้งานตัวโปรแกรม
3.ท่านสามารถที่จะทำงานได้
เพิ่มหน่วยนับสินค้าโดยการกด F4 หรือกดที่ปุ่มเพิ่ม
ป้อนข้อมูลโดยการสร้างหน่วยนับและทำการบันทึกโดยการกด F2 หรือปุ่มบันทึก
สามารถข้อดูหน่วยนับที่ได้สรา้งเอาไว้ด้วยการกด F12 หรือ กดที่ปุ่มแว่นขยาย เมื่อแสดงรายการท่านสามารถเลือกรายการแล้ว
แก้ไข โดยการกด F5 หรือกดที่ปุ่มแก้ไข เมื่อทำการแก้ไขเสร็จแล้วสามารถทำการบันทึกโดยการกดปุ่ม F2 หรือปุ่มบันทึก
ลบ โดยการกด F6 หรือกดที่ปุ่มลบเพื่อทำการลบรายการออก
ในกรณีที่แสดง List รายการ (F12) สามารถที่จะทำการค้นหารายการได้ด้วย
สามารถที่จะเพิ่มรูปภาพของตัวสินค้าได้ โดยกดที่ปุ่มเลือกรูป หรือเมื่อต้องการลบรูปออก
*** ขนาดของรูปภาพในส่วนของสินค้า ที่จะนำไปใช้ในส่วนของหน้าจอ SoftPos ที่แนะนำคือ 320 x 240 pixel (จุด)
สินค้าที่สามารถกำหนดได้มีอยู่ 3 รูปแบบ
สินค้าแบบที่จะต้องทำการตัดสต็อก สินค้าในกลุ่มนี้จะต้องทำการซื้อสินค้าเข้าสต็อกและเวลามีการขายก็จะทำการตัดออกจากสต็อก จะทำให้เราสามารถควบคุมและตรวจเช็คข้อมูลสต็อกสินค้าได้
สินค้าแบบไม่ต้องมีสต็อก สามารถที่จะตัดขายได้ตลอดเวลา เช่นในกรณีของร้านกาแฟ กาแฟ 1 แก้วเราอาจจะกำหนดแบบไม่ต้องตัดสต็อก แต่เราสามารถดูรายงานได้ว่าวันนี้ขายไปกี่แก้ว ข้อดีคือไม่ต้องกังวลว่าจะต้องคีย์ข้อมูลสินค้าเข้าสต็อก สามารถตัดขายได้ตลอดเวลา
สินค้าแบบ Counter Service เช่นรับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ สินค้ากลุ่มนี้จะเหมือนสินค้าแบบไม่ต้องตัดสต็อก แต่จะต่างกันตรงที่ เวลาเราเรียกรหัสสินค้ากลุ่มนี้ในการขายโปรแกรมจะขอทราบยอดเงินที่ต้องการชำระ
ฟิลด์ต่างในส่วนของจัดการข้อมูลสินค้า
ฟิลด์ที่เหลือส่วนอื่นๆ โปรแกรมจะใส่ให้เพิ่มเติมเมื่อมีการซื้อสินค้าเข้า
Comments